More
    HomeBusinessทำอย่างไรให้การทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ปลอดภัยมากขึ้น

    ทำอย่างไรให้การทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ปลอดภัยมากขึ้น

    hacker-computer
    Image: Pixabay

    ในโลกดิจิทัลนั้นทำให้เราสะสวกสบายมากขึ้น โดยเฉพาะการทำธุรกรรมออนไลน์นั้นได้รับความนิยมและแทบทุกธนาคารมีบริการนี้สำหรับผู้ใช้บริการ แต่อย่างไรก็ดีบริการออนไลน์ยังคงมีความเสี่ยงที่ผู้ใช้จำเป็นต้องรับมือและปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นเพราะไม่มีระบบใดที่ปราศจากความเสี่ยง ในทางปฏิบัตินั้นทางธนาคารคือผู้ดูแลระบบฝั่งของผู้ให้บริการ ส่วนอีกทางหนึ่งที่ต้องให้ความดูแลไม่แพ้กันคือฝั่งของผู้ใช้งานซึ่งต้องระมัดระวังตัวเองและไม่ทำให้เกิดช่องโหว่ให้มิจฉาชีพได้ง่าย ๆ โดยสิ่งที่เราแนะนำต่อไปนี้เป็นพื้นฐานของผู้ใช้งานระบบคอมพิวเตอร์หรือแอปพลิชันต่าง ๆ ที่เราควรให้การใส่ใจและใช้เป็นแนวทางในการปฎิบัติได้ โดยเราขอยกตัวอย่าง 9 ข้อที่ควรทำเพื่อให้ทำธุรกรรมออนไลน์ได้อย่างสบายใจมากขึ้น

    1) การตั้งรหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดา

    รหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดาคือรหัสผ่านที่มีความยาวอย่างน้อย 8 ตัวขึ้นไป โดยให้ผสมระหว่างตัวเลข ตัวอักษรพิมพ์เล็ก ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่และอักขระพิเศษ (เช่น !, #, ?, @. %) และรหัสผ่านควรมีมากกว่า
    1 ชุดขึ้นไปตามลำดับความสำคัญ เช่น ถ้าคุณมีบัญชีธนาคารออนไลน์ควรใช้รหัสผ่านที่ซับซ้อนมากที่สุด รองลงมาก็เป็นบัญชีเข้าระบบที่สำคัญ และลดลงไปตามลำดับ ถามว่าถ้ามีรหัสผ่านหลายอันจะจำได้ยากไหมคำตอบก็คือถ้าหากเราไม่มีหลักการจำจะยาก แต่มีีทิปเล็กน้อยคือให้คุณตั้งรหัสผ่านเป็นซีรีย์ที่มี Pattern ที่เรารู้เพียงคนเดียวก็จะง่ายที่จะจดจำ

    2) ไม่บันทึก Username หรือ Password ไว้ในเครื่อง

    ไม่ว่าจะโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ไม่ควรบันทึกข้อมูลเหล่านี้เอาไว้เนื่องจากว่าเสี่ยงต่อการถูกขโมยได้ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้โดยปกติแล้วมักจะต่ออินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา ทางที่ดีหากช่วงแรกที่ตั้งรหัสผ่านยังจำไม่ได้อาจจะต้องบันทึกเอาไว้นอกระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การจดใส่สมุดหรือโน๊ต แล้วเอาไว้ในที่ปลอดภัยเผื่อหยิบใช้เวลาฉุกเฉินหรือลืมรหัสผ่านจริง ๆ ก็เป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง

    3) ควร Logout ออกจากระบบเมื่อไม่ใช้งาน

    หากเราใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของที่ทำงาน ที่มหาวิทยาลัยหรือตามอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ หากเลิกใช้งานแล้วควร Logout ออกจากระบบทุกครั้งเพื่อป้องกันคนเข้ามาสวมรอยใช้งานต่อ

    4) ใช้บัตรเครดิต / บัตรเดบิต ซื้อสินค้าไม่ควรบันทึกข้อมูลบัตรเอาไว้ที่เว็บปลายทาง

    หลายเว็บไซต์ที่ให้บริการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตในปัจจุบันจะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ในการบันทึกข้อมูลบัตรเอาไว้ ซึ่งการซื้อสินค้าครั้งต่อไปคุณก็ไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลบัตรใหม่ทุกครั้งแน่นอนว่าวิธีนี้ทำให้ชีวิตของคุณง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น แต่ทว่าความง่ายก็มาพร้อมกับความเสี่ยงเพราะว่าการบันทึกข้อมูลบัตรเอาไว้ในระบบของเว็บไซต์ต่าง ๆ นั้นเราไม่สามารถมั่นใจได้ 100% ว่าข้อมูลเราจะไม่หลุดรั่วออกไป ยิ่งเว็บไซต์ดัง ๆ นั้นแม้ว่าจะมีระบบรักษาความปลอดภัยมากขนาดไหน แต่อย่าลืมว่าโลกนี้ไม่มีอะไรปลอดภัย 100% ดังจะเห็นได้จากข่าวต่าง ๆ ที่ออกมาว่าข้อมูลของระบบโดนแฮกเกอร์ล้วงข้อมูลแล้วเอาไปเรียกค่าไถ่หรือเอาไปปล่อยสร้างความเสียหายตามมาได้ และหากบัตรที่คุณใช้มีบริการที่เสริมความปลอดภัยอีกขั้นเช่น Verify by VISA ก็ควรรับสมัครเพราะว่าหากคุณทำธุรกรรมอย่างน้อยก็จะต้องใส่ OTP (One-time Password) อีกครั้งเพื่อยืนยันการทำธุรรม (การใช้ Verify by VISA ขึ้นกับร้านค้าปลายทางด้วยว่าจะให้ผู้ซื้อใช้ OTP หรือไม่ ถ้าบางเว็บไม่มีให้ใช้ก็จะสามารถชำระเงินโดยไม่ต้องใช้ OTP ได้เช่นเดิม)

    5) ติดตั้งโปรแกรม Antivirus ที่น่าเชื่อถือและอัพเดตล่าสุดเสมอ

    การติดตั้งโปรแกรม Antivirus นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นไม่ว่าจะใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ เพราะโปรแกรมเหล่านี้มักตรวจจับสิ่งผิดปกติที่เรามองไม่เห็นได้ก่อน ทั้งนี้ต้องอัพเดตให้ล่าสุดด้วยเพราะไวรัสใหม่ ๆ เกิดขึ้นมามากมายในแต่ละวัน หากไม่อัพเดตก็เพิ่มความเสี่ยงได้เช่นกัน

    6) ไม่อ่านอีเมลหรือคลิกลิงค์แปลกปลอม

    การตรวจสอบข้อนี้นั้นอาจจะต้องเป็นคนช่างสังเกตซักเล็กน้อย เพราะเมลปลอมนั้นมักเข้าไปอยู่ในกล่องสแปมเมลแต่ก็ใช่ว่าจะทุกครั้งเพราะระบบกรองอีเมลก็มักกรองได้ไม่ 100 เปอร์เซ็น ดังนั้นเวลาเราดูเบื้องต้น ควรพิจารณาจากหัวข้ออีเมลก่อนคลิกเข้าไป หากหัวข้ออีเมลไม่น่าเชือถือแล้วก็ควรลบทิ้งได้เลย แต่ถ้าผ่านสเตปหัวข้อน่าเชื่อถือก็คลิกเข้ามาดูได้ โดยปกติระบบอีเมลเช่น Hotmail, Gmail จะมีระบบ Filter ภาพหรือลิงค์ให้เราในระดับหนึ่งถ้าเรามั่นใจว่าอีเมลไม่ปลอมก็คลิกให้ระบบโชว์ข้อมูลที่ปิดเอาไว้ได้ และจุดสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือให้่เราสังเกตุที่ Email Address ของผู้ส่งว่าชื่ออีเมลหรือ Domain น่าชื่อถือหรือไม่ เช่น อีเมลส่งมาจากธนาคาร abc Domain ก็มักจะเป็นชื่อธนาคาร @abc แต่โดยทั่วไปถ้าเป็นเมลหลอกลวงนั้นจะมีโดเมนแปลก ๆ แต่ก็ต้องสังเกตรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วยนะครับ เพราะเดียวนี้การแปลงโดเมนให้เหมือนของจริงเพื่อหลอกเราก็สามารถทำกันได้แล้ว ทางที่ดีกรณีให้กรอกอะไรไม่น่าไว้วางใจให้เราโทรหา Call Center ของธนาคารที่ใช้บริการอยู่เลยแล้วถามรายละเอียดโดยตรงจะดีที่สุด

    7) ไม่ควรใช้อินเทอร์เน็ตสาธารณะหรือ Public Wi-Fi เข้าทำธุรกรรมทางการเงิน

    ช่องโหว่ที่มักพบบ่อยอีกอย่างหนึ่งคือ เวลาที่เราต่ออินเทอร์ผ่านช่องทางสาธารณะ เช่น ตามอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ร้านกาแฟ ห้างสรรพสินค้า หากใช้ทั่วไปไม่ได้ทำธุรกรรมทางการเงินก็นับว่าใช้ได้ตามปกติแต่หากต้องทำธุรรรมทางการเงิน เราแนะนำว่าคุณควรใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสัญญาณโทรศัพท์โดยตรง ไม่ว่าจะ AIS, DTAC หรือ Truemove H ก็สามารถใช้ได้ปลอดถัยกว่าใช้ Wi-Fi ที่อยู่ตามสถานที่ทั่วไปแน่นอน

    8) ไม่ติดตั้งโปรแกรมเถื่อน

    โปรแกรมเถือนคือโปรแกรมที่เราโหลดจากในอินเทอร์เน็ตแล้วมีแคล็กให้ใช้ได้ฟรี แน่นอนว่าความเสี่ยงคุณจะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าหากว่าไม่ใช้โปรแกรมที่ถูกลิขสิทธิ์เพราะต้องบอกว่าโปรแกรมแคล็กโดยส่วนใหญ่นั้นมักแฝงมาด้วยมัลแวร์ซึ่งมีจุดประสงค์ที่หลากหลาย แต่ไม่เป็นผลดีต่อผู้ใช้แน่นอน

     

    กองบรรณาธิการ
    กองบรรณาธิการhttps://www.digitday.com/
    DIGITDAY.COM = Digital + Day | ในยุคดิจิทัลมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในทุก ๆ วินาที การเรียนรู้เรื่องของเทคโนโลยีและเลือกใช้อย่างเท่าทัน จะช่วยให้เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างลงตัว

    LEAVE A REPLY

    Please enter your comment!
    Please enter your name here

    Follow Us

    30,938FansLike
    98FollowersFollow
    180FollowersFollow
    1,027FollowersFollow
    80SubscribersSubscribe

    Must Read