More
    HomeWealthผ่อนสินค้าผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน ใครกันแน่ที่ได้ประโยชน์

    ผ่อนสินค้าผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน ใครกันแน่ที่ได้ประโยชน์

    บทความนี้เรามาพูดเรื่องการเงินกันกับการผ่อนศูนย์เปอร์เซนต์ซักหน่อยนะครับ เรื่องของโปรโมชันของบัตรเครดิตต่าง ๆ ที่มักจะออกโปรโมชันผ่อนสูงสุดนาน 3 เดือน, 6 เดือน 10 เดือน หรือแม้กระทั่ง 24 เดือน กับสินค้าที่มีราคาสูงซักหน่อย มีให้เราได้เห็นเป็นประจำ เวลาสินค้ามีการจัดโปรโมชัน จัดงานมหกรรมต่าง ๆ หรือช่วงที่แบรนด์สินค้าต้องการกระตุ้นยอดขาย ไม่ว่าจะผ่อนจ่ายผ่านบัตรกดเงินสด และบัตรเครดิตจะมีมาให้เห็นในสินค้าที่ร่วมรายการ

    โดยหลักการแล้ว ร้านค้าต่าง ๆ ที่รับชำระเงินจากลูกค้าผ่านบัตรเครดิตจะมีการใช้บริการจากธนาคาร หมายความว่า เมื่อธุรกรรมเกิดขึ้นผ่านบัตรเครดิต ร้านค้าก็จะถูกชาร์จค่าธรรมเนียม เช่น ร้านค้าได้ตกลงกับธนาคารจ่ายที่เรท 1.5% ร้านค้าจะได้รับเงินจากธนาคารเหลือ 100-1.50 = 98.50 บาท เป็นต้น (เรทที่จ่ายขึ้นกับดีลระหว่างธนาคารกับร้านค้ามีตั้งแต่ 0.1% – 3% ในกรณีจ่ายเต็มจำนวน ส่วนการผ่อนสินเค้าก็จะสูงขึ้นไปอีก) โดยเฉพาะการผ่อนสินค้าธนาคารจะได้รับอัตราค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่สูงกว่าการที่ลูกค้ารูดซื้อสินค้าแบบจ่ายเต็มจำนวน เช่น อัตราการจ่ายค่าธรรมเนียมร้านค้าจ่ายจ่ายให้กับธนาคารไม่เกิน 3% (อัตราการชาร์จขึ้นกับธนาคาร) โดยร้านค้าจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ โดยที่เราไม่รู้ตัวเพราะก็จ่ายราคาในสินค้าปกติ ซึ่งเท่ากับว่าเราทีเป็นผู้ซื้อถือว่าได้ประโยชน์เพราะว่าจ่ายเงินทำเดิม แต่สามารถยืดระยะเวลาแบ่งจ่ายได้อีกนานหลายเดือน เป็นต้น

    ยิ่งบางช่วงมีการให้เครดิตเงินคืน (Cashback) ให้กับผู้ถือบัตรตาลุกวาวอีกต่างหาก โดยหากสังเกตจะพบว่าแม้ว่าจะคืนเงินแต่ก็มีเพดานจำกัด แต่ปกติแล้วธนาคารมักจะคืนให้ไม่เกินอัตราที่ชาร์จมาจากร้านค้า เช่น ร้านค้าจ่ายค่าทำธุรกรรม 2.5% บัตรเครดิตก็อาจจะคืนเงินให้เราสูงสุด 1.5% โดยที่กำหนดยอดใช้จ่ายเป็นขั้น ๆ เอาไว้ ดังนั้นเรามักจะเห็นบ่อย ๆ ว่าธนาคารจัดโปรโมชันคืนเงินเมื่อผ่อนสินค้าที่ร่วมรายการ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อที่ง่ายขึ้นและร้านค้าส่วนใหญ่ก็ยอมที่จะใช้วิธีนี้เพื่อกระตุ้นยอดขาย

    เราต้องเข้าใจอีกอย่างว่า ในระบบการชำระเงินนั้นมีหลายส่วนที่เกี่ยวข้องที่จะได้รับส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม ซึ่งประกอบด้วย

    1. ลูกค้า (ตัวเราเอง) รูดซื้อสินค้าผ่านบัตรเครดิต : เรารูดจ่ายไป 100 บาทที่ร้านค้า
    2. ธนาคารที่เป็นเจ้าของบัตรเครดิตของเรา เช่น Citibank, KTB, KTC ฯลฯ : ธนาคารเจ้าของบัตรเราได้รับเงินค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม (สมมติ 1.50%) ดังนั้น 100 – 1.5 = 98.50 บาท
    3. ตัวกลางในการรับชำระเงิน จากนั้นเงินจะถูกส่งไปยังตัวกลางการรับชำระเงินที่เราคุ้นเคยกันดี มีหลายผู้ให้บริการ ดูได้จากหน้าบัตรเครดิตของเรา เช่น Visa, Mastercard, JCB, UnionPay, AMEX เป็นต้น (สมมติ Visa คิดค่าธรรมเนียมธุรกรรม 0.10%) : 98.50 – 0.10 = 98.40 บาท
    4. ธนาคารที่ให้บริการเครื่องรูดบัตรของธนาคาร เช่น Kbank, SCB, BBL ฯลฯ เช่น คิดค่าธรรมเนียมเครื่องรูดบัตรไว้ที่ 0.30% เท่ากับว่า 98.40-0.30 = 98.10 บาท
    5. ร้านค้า : รับเงินสุทธิจริง ๆ คือ 98.10 บาท 

    ทีนี้กลับมาที่ว่าทำไมบางร้านค้าเราจ่ายเท่ากับซื้อราคาเต็มกลับได้ราคาที่ถูกกว่าผ่อนสินค้าล่ะ ที่เห็นบ่อย ๆ เช่น อุปกรณ์กล้องถ่ายรูป สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีราคาสูง เป็นต้น ซึ่งกำไรส่วนต่างทางร้านอาจจะไม่ได้สูงมาก การที่ร้านค้าจะรับภาระค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตก็ 0.1-3.0% แล้ว หากรับภาระการผ่อนสินค้าของลูกค้าอีกก็อาจจะเสียค่าธรรมเนียมวิ่งไปจนถึง 5% ดังนั้นร้านค้าอาจจะผลักภาระตรงนี้มาเป็นของผู้ซื้อแทนนั่นเอง เพราะอย่างไรธนาคารเองเอาเงินฝากของคนทั่วไปมาบริการเพือก่อให้เกิดผลกำไร แล้วปันผลให้ผู้ถือหุ้น ดังนั้นเงินไม่ว่าจะอยู่ที่ใคร อัตราดอกเบี้ยย่อมเกิดขึ้นตลอดเวลาอยู่ที่ว่าใครจะรับภาระนั้นไปนั่นเอง

    กองบรรณาธิการ
    กองบรรณาธิการhttps://www.digitday.com/
    DIGITDAY.COM = Digital + Day | ในยุคดิจิทัลมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในทุก ๆ วินาที การเรียนรู้เรื่องของเทคโนโลยีและเลือกใช้อย่างเท่าทัน จะช่วยให้เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างลงตัว

    LEAVE A REPLY

    Please enter your comment!
    Please enter your name here

    Follow Us

    30,938FansLike
    98FollowersFollow
    180FollowersFollow
    1,027FollowersFollow
    80SubscribersSubscribe

    Must Read