More
    Home"Mark Zuckerberg” จากเด็กหนุ่มคนธรรมดากลายมาเป็นมหาเศรษฐีอันดับ Top 5 ของโลกที่มีอายุน้อยที่สุด เขาทำได้อย่างไร ?

    “Mark Zuckerberg” จากเด็กหนุ่มคนธรรมดากลายมาเป็นมหาเศรษฐีอันดับ Top 5 ของโลกที่มีอายุน้อยที่สุด เขาทำได้อย่างไร ?

    mark-zuckerberge-2014

    หลายคนคงเคยตั้งคำถามถึงบุคคลที่ร่ำรวยและมีชื่อเสียงของโลกใบนี้ว่าพวกเขาเหล่านั้นทำได้อย่างไร อาจจะเป็นโชคชะตาหรือพื้นฐานครอบครัวที่มีมาแต่ก่อนเก่าหรือเปล่านั้น ก็ยังคงเป็นสิ่งที่น่าคิดเหมือนกัน แต่ทว่าหากเราเข้าไปศึกษาถึงประวัติความเป็นมาของบุคคลสำหรับระดับโลกในยุคปัจจุบันโดยส่วนใหญ่แล้วบุคคลเหล่านั้นเป็นเพียงคนธรรมดาและไม่ได้ร่ำรวยเป็นเศรษฐีมาก่อน และต่างก็เคยผ่านความล้มเหลวลองผิดลองถูกมานับครั้งไม่ถ้วน แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเขามีเหมือนกันก็คือความมุ่งมั่นตั้งใจและยึดมั่นในอุดมการณ์ของตัวเองอย่างแรงกล้าและก็พร้อมเปิดรับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและกล้าจะก้าวข้ามปัญหาจนกลายมาเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จได้อย่างน่าทึ่ง

    เครือข่ายสังคมออนไลน์อันดับ 1 ของโลก

    “มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก” ชื่อของบุคคลสำคัญของโลกที่ใคร ๆ ต่างรู้จัก เพราะเขาคือผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก (Facebook) เครือข่ายสังคมออนไลน์ขนาดใหญ่มหึมาอันดับหนึ่งของโลกที่มีสมาชิกแบบ Active User ปัจจุบันกว่า 2,200 พันล้านคน (มกราคม 2018) ในขณะที่ประชากรโลกมี 7,600 ล้านคน ซึ่งช่วยเชื่อมโยงผู้คนและสร้างความสัมพันธ์ใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นและเหมือนย่อโลกใบใหญ่ของเราเอาไว้เพียงปลายนิ้ว โดยผู้ใช้ทั่วไปสามารถใช้บริการดังกล่าวได้ฟรี ซึ่งแพลตฟอร์มดังกล่าวนี้สร้างรายได้นับแสนล้านบาทต่อปีให้กับมาร์ค ซักเกอร์เบิร์กและผู้ถือหุ้น (Facebook เข้าตลาดหุ้นเมื่อปี 2012) ผู้คนทั่วโลกต่างหลงไหลในการการใช้บริการที่เรียกว่า “เฟซบุ๊ก” ชนิดที่เรียกว่าวันหนึ่ง ๆ ต้องหยิบสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์ไฮเทคหลายต่อหลายครั้งเพื่อเข้ามาอัพเดตข่าวาร ความเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ ซึ่งกลายมาเป็นโมเดลการสร้างรายได้ด้านการโฆษณาให้แก่เฟซบุ๊กได้อย่างมหาศาล

    facebook-page-on-google-chrome-browser

    จุดเริ่มต้นที่หอพักมหาวิทยาลัย

    หากย้อนกลับไปเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ช่วงที่มาร์ก ยังเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดนั้นเขาได้รวมตัวกับเพื่ออัก 4 คนเพื่อก่อตั้งเฟซบุ๊กขึ้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ปี 2004 ซึ่งสำนักงานใหญ่ของเขาในตอนนั้นก็คือที่หอพักนั่นเอง โดยในช่วงแรกนั้นเป็นการเปิดให้ใช้งานภายในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งก็เจออุปสรรคอยู่บ้างเพราะนักศึกษาให้ความสนใจและเข้ามาใช้งานกันเป็นจำนวนมากทำให้เซิร์ฟเวอร์ของมหาวิทยาลัยล่มไปในที่สุด และนักศึกษาก็ถูกสั่งห้ามให้เข้าใช้งานเว็บไซต์ ซึ่งจุดนั้นก็ดูเหมือนจะไม่ใช่จุดจบของเฟซบุ๊คเพราะมาร์กยังหาวิธีการเปิดให้บริการได้สมความตั้งใจ ก่อนจะขยายไปตามสถานศึกษาต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาและได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งในจังหวะของการเติบโตนั้นมีบริษัทยักษ์ใหญ่หลายบริษัทเข้ามาทาบทามซื้อเฟซบุ๊ก แต่มาร์กและเพื่อนร่วมทีมของเขายังคงยึดมั่นในอุดมการณ์ที่จะเชื่อมโยงผู้คนทั่วโลกให้เข้าถึงกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้นด้วยตัวเอง ซึ่งก็ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะจากวันนั้นถึงวันนี้สิ่งที่พวกเขาคิดก็ได้ขยายบริการออกสู่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกแบบฉุดไม่อยู่ และประสบความสำเร็จด้านจำนวนผู้ใช้งานและรายได้อย่างงดงาม

    mark-zuckerberge-in-keynote-2008-event
    (CC) Brian Solis, www.briansolis.com and bub.blicio.us

    ความเปลี่ยนแปลงจากจุดเริ่มต้น

    อย่างไรตามเหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ แม้ว่าเฟซบุ๊กจะเปิดให้บริการทั่วโลกมาแล้วกว่า 14 ปี ด้วยจำนวนผู้ใช้ที่มหาศาลและยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ในหลาย ๆ ประเทศ อย่างเช่น จีน เวียดนาม อีหร่าน พม่า ก็ยังมีข้อพิพาทและถูกปิดกั้นเป็นระยะ ในมุมของผู้ประกอบการที่ใช้เฟซบุ๊กก็ดูเหมือนจะถูกบีบบังคับทางอ้อมให้จ่ายค่าโฆษณามากขึ้น เพราะมีการลดการแสดงข้อมูล (Reach) บนหน้า Feed ของผู้ใช้หากอยากให้คนเห็นมากขึ้นบรรดาผู้ลงโฆษณาก็ต้องยอมจ่ายเงินค่าโฆษณาที่มากขึ้น ทำให้ต้นทุนของสินค้าและบริการที่ขายสูงขึ้นตามไปด้วย ผู้ใช้เองก็ดูเหมือนจะต้องดูโฆษณาต่าง ๆ ที่ปรากฏแบบกินพื้นที่ของหน้าฟีดมากขึ้น บ่อยขึ้น ในขณะที่ผลกำไรในแต่ละปีของเฟซบุ๊กนั้นก็ดูจะเพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องของภาษีที่ในหลาย ๆ ประเทศต่างเรียกร้องให้มีเฟซบุ๊กจ่ายให้แก่รัฐบาลในประเทศต่าง ๆ เพราะมองว่าการการทำธุรกิจที่สร้างรายได้จากประเทศนั้น ๆ ด้วยเช่นกัน อีกนัยหนึ่งคือเรื่องของข้อมูลผู้ใช้จำนวนมากรั่วไหลออกไปสู่บุคลภายนอก ซึ่งทำให้เกิดข้อพิพาทและเสียงวิพากย์วิจารณ์กันอย่างหนักและกระทบมูลค่าของหุ้นเฟซบุ๊กรวมถึงความเชื่อมั่นของผู้ใช้งานในเรื่องของความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัว

    สุดท้ายอยากบอกว่าเรารักและชื่นชมเฟซบุ๊ก แต่ก็มีคำถามที่ไม่แน่ใจในคำตอบที่อยากจะฝากถึง คุณ “มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก” ว่าสิ่งที่เฟซบุ๊กทำอยู่ทุกวันนี้ยังยึดอุดมการณ์เหมือนเมื่อตอนก่อตั้งหรือยึดผลกำไรต่อผู้ถือหุ้นกันแน่

    แหล่งข้อมูลอ้างอิง : Forbes, Wikipedia, World Population

    Bhubeth Bhajanavorakul
    Bhubeth Bhajanavorakul
    ภูเบศ ภัทร์ชนาวรกุล | บรรณาธิการ : เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จุดมุ่งหมายของการสร้างพื้นที่แห่งนี้ขึ้นมาเพื่อให้ความรู้ออกสู่สังคม เพราะในโลกของดิจิทัลเทคโนโลยีนั้นมีสิ่งใหม่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เราจำเป็นต้องเรียนรู้และนำมาปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อตนเอง คนรอบข้าง และสังคม

    LEAVE A REPLY

    Please enter your comment!
    Please enter your name here

    Follow Us

    30,938FansLike
    98FollowersFollow
    180FollowersFollow
    1,027FollowersFollow
    80SubscribersSubscribe

    Must Read